วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556




ลักษณะคุณสมบัติและการดำเนินการของหน่วยงานหรือองค์กรที่สามารถขอขึ้นทะเบียนได้

๑.   หน่วยงานหรือองค์กรที่ขอขึ้นทะเบียน ต้องเป็นหน่วยงานหรือองค์กรที่มีลักษณะตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๒๐

                 (๑) สมาคมหรือชมรมครู อาจารย์ หรือสมาคมทางด้านการศึกษา
                       หมายความถึง สมาคมหรือชมรมซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาอื่น ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการศึกษา ให้บริการหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษา
                 (๒) สภาทนายความหรือผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย
                       หมายความถึง สภาทนายความหรือสภาทนายความจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยทนายความหรือองค์กรผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายอื่น
                 (๓) สมาคมหรือชมรมพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือสภาแรงงาน หรือสหภาพแรงงาน
                       หมายความถึง สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
หรือสภาแรงงานหรือสหภาพแรงงงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมหรือกลุ่มบุคคลซึ่งเป็นตัวแทนชองพนักงานหรือลูกจ้างที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างและระหว่างลูกจ้างด้วยกัน หรือพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกในการคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างของลูกจ้าง
                  (๔) สภาหอการค้าจังหวัดหรือสภาอุตสาหกรรมจังหวัดหรือชมรมธนาคารพาณิชย์จังหวัด
                       หมายความถึง หอการค้าจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยหอการค้าหรือสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือสำนักงานสาขาในจังหวัดหรือกลุ่มอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือกลุ่มธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์และสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
                   (๕) กลุ่มอาสาสมัคร
                       หมายความถึง กลุ่มบุคคลหรือมูลนิธิที่สมัครใจอาสาเข้ามาทำงานเพื่อช่วยเหลือสังคมหรือผู้อื่น โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนหรือสิ่งอื่นใด
                    (๖) องค์กรเอกชน
                         หมายความถึง องค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินงานพัฒนาสังคมโดยเน้นการพัฒนาคนและการมีส่วนร่วมของประชาชน จะเป็นองค์กรที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่จดทะเบียนก็ได้ และในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะต้องมีการจัดองค์กรเป็นคณะบุคคลขึ้นมาดูแลรับผิดชอบการดำเนินกิจการอย่างมีระเบียบแบบแผนตามสมควร ซึ่งดำเนินงานโดยอิสระ มีกิจกรรมต่อเนื่องและไม่แสวงหาผลประโยชน์
                    (๗) องค์กรเกษตรกร
                           หมายความถึง องค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกร เช่น การเสนอนโยบายและแนวทางการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกร รวมทั้งราคาผลผลิตทางเกษตรกรรมที่ไม่เป็นธรรมต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือให้คำปรึกษาและข้อแนะนำแก่เกษตรกรหรือองค์กรเกษตรกร

                     (๘) สมาคมหรือชมรมสื่อมวลชน
                          หมายความถึง องค์กรหรือกลุ่มบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน เพื่อทำหน้าที่ปกป้องสิทธิ เสรีภาพ และความเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน หรือทำน้าที่ในการส่งเสริมหรือสนับสนุนการประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน โดยมีการดำเนินการในลักษณะต่อเนื่องร่วมกันและมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน
                      (๙) หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด
                         หมายความถึง หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
 
      ๒.   หน่วยงานหรือองค์กรที่ขอขึ้นทะเบียน ต้องเป็นหน่วยงานหรือองค์กรที่มีคุณสมบัติและการดำเนินการตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๒๒
 
                            (๑)    การรวมตัวกันของสมาชิกของหน่วยงานหรือองค์ ต้องเป็นไปเพื่อดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์สาธารณะหรือประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อผู้ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอย่างต่อเนื่องในจังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวข้องกับข้อ ๑ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) หรือเป็นส่วนราชการประจำจังหวัดตาม (๙)
                             (๒)    ได้รับการรับรองจากทางราชการ หรือมีหลักฐานแสดงสถานภาพของหน่วยงานหรือองค์กร
                             (๓)    หน่วยงานหรือองค์กรตามข้อ ๑ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) ต้องจัดตั้งหรือดำเนินกิจกรรมมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปีนับถึงวันแจ้งความประสงค์ โดยสามารถนำผลงานหรือรายงานการดำเนินกิจกรรมมาแสดงได้
                             (๔)    หน่วยงานหรือองค์กรตามข้อ ๑ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) ที่มิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลต้องมีสมาชิกซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดตามจำนวนที่กำหนด ดังต่อไปนี้
 
                                    (ก)    หน่วยงานหรือองค์กรตามข้อ ๑ (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๘) ต้องมีสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า ๑๐ คน
                                   (ข)    หน่วยงานหรือองค์กรตามข้อ ๑ (๕) (๖) และ (๗) ต้องมีสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า ๕๐ คน
 หมายเหตุ        (๑) หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามระเบียบข้อ ๒๐ (๙) ไม่ต้องแสดงหลักฐานการจัดตั้งหรือดำเนินกิจกรรมมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี
                         (๒)ในกรณีที่หน่วยงานหรือองค์กรใดเป็นหน่วยงานหรือองค์กรที่มีคุณสมบัติตามระเบียบข้อ ๒๐ ได้มากกว่าหนึ่งประเภท ให้หน่วยงานหรือองค์กรนั้นแจ้งความประสงค์การขอขึ้นทะเบียนได้เพียงประเภทเดียว
 
 
หลักฐานที่ใช้ในการขอขึ้นทะเบียน
 ๑.     หน่วยงานหรือองค์กรตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๒๐ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๘) ใช้หลักฐาน ดังนี้
                        ๑. แบบแจ้งความประสงค์ขอขึ้นทะเบียนและส่งรายชื่อผู้แทนหน่วยงานหรือองค์กร เพื่อคัดเลือกเป็นกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด (ป.ป.จ. ๓)
                       ๒.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของหัวหน้าหน่วยงานหรือองค์กร และกรณีหัวหน้าหน่วยงานหรือองค์กรมอบอำนาจให้บุคคลอื่นยื่นแบบแจ้งความประสงค์ขอขึ้นทะเบียนแทน จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจ ตามแบบ ป.ป.จ. ๔ รวมทั้งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
                      ๓. หลักฐานที่แสดงถึงวัตถุประสงค์หลักของหน่วยงานหรือองค์กร เช่น หนังสือหรือเอกสารชี้แจงวัตถุประสงค์การดำเนินงาน หรือหนังสือการก่อตั้งหน่วยงานหรือองค์กรซึ่งระบุวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งฯ เป็นต้น
                     ๔. หลักฐานที่แสดงถึงการได้รับการรับรองจากทางราชการหรือหลักฐานแสดงสถานภาพของหน่วยงานหรือองค์กร
                     ๕. หลักฐานแสดงถึงการจัดตั้งหรือดำเนินกิจกรรมมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปีนับถึงวันแจ้งความประสงค์ โดยนำผลงานหรือรายงานการดำเนินกิจกรรมมาแสดง เช่น หนังสือแสดงการจัดตั้งหน่วยงานหรือองค์กร หรือเอกสารแสดงผลงานหรือรายงานประจำปี
                        ๖. กรณีหน่วยงานหรือองค์กรที่มิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคล ให้แนบหลักฐานเพื่อแสดงว่ามีสมาชิกซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดตามจำนวนที่ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๒๒ กำหนด
                     ๗.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้แทนเพื่อคัดเลือกกันเองเป็นกรรมการสรรหา
 
๒.  หน่วยงานหรือองค์กรตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๒๐ (๙) ใช้หลักฐาน ดังนี้
                      ๑.  แบบแจ้งความประสงค์ขอขึ้นทะเบียนและส่งรายชื่อผู้แทนหน่วยงานหรือองค์กร เพื่อคัดเลือกเป็นกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด (ป.ป.จ. ๓)
                      ๒.  สำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐของหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด
                      ๓.  หลักฐานที่แสดงถึงหลักฐานแสดงสถานภาพของหน่วยงานหรือองค์กร เช่น สำเนาคำสั่งแต่งตั้ง เป็นต้น
                     ๔. กรณีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดมอบอำนาจให้บุคคลอื่นยื่นแบบแจ้งความประสงค์ขอขึ้นทะเบียนแทน จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจ ตามแบบ ป.ป.จ. ๔ รวมทั้งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
                      ๕.  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้แทนเพื่อคัดเลือกกันเองเป็นกรรมการสรรหา
 
สอบถามและขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี หลังที่ว่าการอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ถนนพระพันวษา ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ๗๒๐๐๐ โทร.๐๓๕-๕๑๑๑๗๘ / facebook : ป.ป.ช. สุพรรณบุรี
 
 
 
 
 
 

 


 
 
 
 

 

วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556

 
ศ.วิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช." เผย ป.ป.ช.จังหวัดฯ จะสร้างการมีส่วนร่วม ต้านทุจริต"
 
 

               วันที่ 17 เมษายน 2556 เวลา 11.00 น.นายสมพล กาญจนโสภณ รกท.ผอ.สำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี และ เจ้าหน้าที่ ประจำสำนักงาน ป.ป.ช.จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ให้การต้อนรับ นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. พร้อมคณะ ที่เดินทางมาตรวจเยี่ยม ดูความพร้อมการเตรียมการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหา กรรมการ ป.ป.จ.สุพรรณบุรี ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 20 เมษายน 2556 ที่จะถึงนี้ 
           
 
สืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๔๖ วรรคท้าย บัญญัติให้มีกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด โดยคุณสมบัติ กระบวนการสรรหา และอำนาจหน้าที่ ให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงได้ออกระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๕ เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด
 
              
ในระเบียบดังกล่าว สำนักงาน ป.ป.ช. จึงมีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานให้มี การสรรหากรรมการ ป.ป.จ. ประกอบด้วย ๒ ภารกิจ ดังนี้
               ภารกิจที่ ๑ การดำเนินการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.จ. โดยให้ผู้แทนหน่วยงานหรือองค์กรในแต่ละจังหวัด รวม ๙ กลุ่มองค์กรหรือหน่วยงาน คัดเลือกกันเองให้เหลือหน่วยงานหรือองค์กรละหนึ่งคน รวม ๙ คน ทำหน้าที่สรรหากรรมการ ป.ป.จ. ในภารกิจที่ ๒ ต่อไป
                ภารกิจที่ ๒ การสรรหากรรมการ ป.ป.จ. โดยประกาศรับสมัครจากบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จากนั้นให้คณะกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.จ. พิจารณาคัดเลือกไว้เป็นสองเท่าของจำนวนกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด แล้วนำรายชื่อจัดทำบัญชีเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาคัดเลือกและแต่งตั้งให้เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัดตามจำนวนของแต่ละจังหวัดต่อไป
 
 
 

                 ดังนั้นในภารกิจที่ ๑ จะดำเนินการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.จ. ขึ้นมาคณะหนึ่งก่อนในแต่ละจังหวัด โดยดีเดย์ครั้งแรก ประมาณ ๒๐ เมษายน ในพื้นที่ ๓๒ จังหวัดที่ได้เปิดดำเนินการสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดมาก่อนแล้ว และครั้งที่ ๒ ประมาณเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๖ เริ่มในพื้นที่ ๔๔ จังหวัดที่เหลือ การคัดเลือกคณะกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.จ. จะสรรหาจากผู้แทนหน่วยงานหรือองค์กร ในแต่ละจังหวัดรวม ๙ กลุ่มองค์กร ตามที่กฎหมายกำหนดประกอบด้วย
                 ๑. สมาคมหรือชมรมครู อาจารย์ หรือสมาคมทางด้านการศึกษา
                 ๒. สภาทนายความหรือผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย
                 ๓. สมาคมหรือชมรมพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือสภาแรงงาน หรือสหภาพแรงงาน
                 ๔. สภาหอการค้าจังหวัดหรือสภาอุตสาหกรรมจังหวัดหรือชมรมธนาคารพาณิชย์จังหวัด
                 ๕. กลุ่มอาสาสมัคร
                 ๖. องค์กรเอกชน
                 ๗. องค์กรเกษตรกร
                 ๘. สมาคมหรือชมรมสื่อมวลชน   
                 ๙. หัวหน้าส่วนราชการจังหวัด
คณะกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.จ.เมื่อผ่านการสรรหาเรียบร้อยแล้ว จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสรรหากรรมการ ป.ป.จ.ในแต่ละจังหวัด ซึ่งเป็นการดำเนินงานในภารกิจที่ ๒ โดย ขั้นแรกคือ ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม ประวัติ และพฤติการณ์ของผู้สมัครเป็นกรรมการ ป.ป.จ. แต่ละราย ขั้นที่ ๒ คือ พิจารณาคัดเลือกผู้สมัครกรรมการ ป.ป.จ. ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามซึ่งสมควรได้รับการเสนอรายชื่อเป็นกรรมการ ป.ปจ. ส่งมาให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณาคัดเลือกและแต่งตั้งต่อไป             

                การสรรหากรรมการ ป.ป.จ. ในแต่ละจังหวัดจะต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่าสามคนแต่ไม่เกินห้าคน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ ป.ป.จ. คนหนึ่ง และกรรมการ ป.ป.จ. ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. และให้ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด ทำหน้าที่เป็นเลขานุการของคณะกรรมการ ป.ป.จ. ซึ่งการกำหนดจำนวนกรรมการ ป.ป.จ. ในแต่ละจังหวัด ให้คำนวณโดยการนำประชากรในจังหวัดที่มีจำนวนประชากรสูงสุดยกเว้นกรุงเทพมหานครมาหารด้วยสอง ได้จำนวนเท่าใดให้ใช้เป็นฐานในการคำนวณ จังหวัดใดมีจำนวนประชากรตั้งแต่กึ่งหนึ่งขึ้นไปของจำนวนประชากรที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณ ให้จังหวัดนั้นมีกรรมการ ป.ป.จ. จำนวนห้าคน จังหวัดใดมีจำนวนประชากรน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของฐานในการคำนวณ ให้จังหวัดนั้นมีกรรมการ ป.ป.จ. จำนวนสามคน การสรรหาคนดีในพื้นที่มาเป็นกรรมการ ป.ป.จ. ในแต่ละจังหวัด จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะกรรมการ ป.ป.จ. มีบทบาทในการส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. รวมทั้งการประสานความร่วมมือกับประชาชนและส่วนราชการเพื่อเผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนในทุกระดับได้ตระหนักถึงผลกระทบจากการทุจริต อันเป็นการป้องกันการทุจริตและเสริมสร้างทัศนคติและค่านิยมเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริต ให้ประชาชนหรือกลุ่มบุคคลในทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในระดับพื้นที่          
        
                     
                ผู้ที่มีสิทธิสมัครเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการ ป.ป.จ. ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ คุณสมบัติ
                   (๑) เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
                   (๒)มีความรู้ความสามารถและมีผลงานเป็นที่ยอมรับในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต          
                   (๓) มีสัญชาติไทย
                  (๔) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปีบริบูรณ์ และไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
               (๕) รับหรือเคยรับราชการในระดับไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์หรือมีผลงานเป็นที่ยอมรับในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หรือเป็นผู้ซึ่งองค์การพัฒนาเอกชนหรือองค์กรวิชาชีพที่มีกฎหมายรับรองและปฏิบัติงานมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปีโดยองค์การพัฒนาเอกชนหรือองค์กรวิชาชีพให้การรับรอง
          
                  ไม่มีลักษณะต้องห้าม
                 (๑) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
                 (๒) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย 
                 (๓) ติดยาเสพติดให้โทษ
                 (๔) เป็นบุคคลล้มละลาย หรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
                 (๕) ต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้ว่าคดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุดหรือมีการรอการลงโทษหรือเคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท
                 (๖) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ
               (๗) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
                 (๘) เคยถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใด
 
              
                กรรมการ ป.ป.จ.ในแต่ละจังหวัดที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและผ่านกระบวนการสรรหาเรียบร้อยแล้ว จะต้องปฏิบัติงานที่สำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดนั้น ๆ และมีวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปีนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระไม่ได้ ไม่ว่าในจังหวัดใด สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ ป.ป.จ. ดังกล่าวมีสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้รับ ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าตอบแทนรายเดือน ในตำแหน่งประธานกรรมการ ป.ป.จ. เดือนละ ๕๗,๖๕๐ บาท ตำแหน่งกรรมการ ป.ป.จ. เดือนละ ๔๗,๒๔๐ บาท (๒) บำเหน็จตอบแทน(๓) การประกันสุขภาพ (๔) ประโยชน์ตอบแทนอื่นตามที่คณะกรรมการป.ป.ช. กำหนด (๕) มีสิทธิได้รับการเสนอชื่อเพื่อขอรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์                
 
              หากเห็นว่าเป็นบุคคลที่ไม่เหมาะสมขอให้รีบแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับประวัติและพฤติการณ์ให้สำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดทราบผ่านทางเว็บไซต์ ไปรษณีย์ หรือช่องทางอื่นภายในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวข้างต้นดำเนินงานไปได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคลากรของสำนักงาน ป.ป.ช.ทุกท่านในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจหรือประชาชนทั่วไปให้ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ในการค้นหาคนดีในพื้นที่มาเป็นคณะกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.จ. และกรรมการ ป.ป.จ. ได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง เมื่อสำนักงาน ป.ป.ช.ได้คนดีในพื้นที่มาเป็นกรรมการ ป.ป.จ.ซึ่งจะเป็นฟันเฟืองที่สำคัญในแต่ละพื้นที่ที่จะเร่งระดมปูพรมกำจัดการทุจริตอย่างครบวงจรต่อไป
 
 
                นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. กลาง เปิดเผย หลังการประชุม ว่า.. นับเป็นมิติใหม่ ของ ป.ป.ช. ในการจัดตั้ง องค์กร ป.ป.ช.ประจำจังหวัดขึ้น โดยดีเดย์ครั้งแรก ๒๐ เมษายน 2556 นี้ ในพื้นที่ ๓๒ จังหวัดที่ได้เปิดดำเนินการสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดมาก่อนแล้ว และครั้งที่ ๒ ประมาณเดือน กรกฎาคม ๒๕๕๖ เริ่มในพื้นที่ ๔๔ จังหวัดที่เหลือ สำหรับ จังหวัดสุพรรณบุรี จะมี กรรมการ ป.ป.ช. ประจำจังหวัด ได้ 3 คน ซึ่งคณะกรรมการสรรหาจาก 9 องค์กร จะต้องคัดเลือก ผู้มีคุณสมบัติที่เหมาะสม จำนวน 2 เท่าของกรรมการ เสนอต่อ กรรมการ ป.ป.ช.กลาง อย่าง สุพรรณบุรี ก็ต้องคัดเลือกมา 6 คน ส่งชื่อให้ ป.ป.ช.กลาง เพื่อคัดเลือกให้เหลือ 3 คน ทำหน้าที่เป็น กรรมการ ป.ป.จ.สุพรรณบุรี ต่อข้อถามที่ว่า จะสามารถคัดเลือก บุคคล ที่มีคุณสมบัติ ที่ดี ปราศจากการครอบงำของ ผู้มีอิทธิพล หรือ นักการเมือง ได้อย่างไร นายวิชา มหาคุณ บอก ..เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ สำคัญมาก จุดประสงค์ของการ ตั้ง สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด ขึ้นก็เพื่อ ป้องกัน และ ปราบปราม พวกทุจริต คอรัปชั่น ซึ่งในฐานข้อมูล ป.ป.ช.งบประมาณแผ่นดิน กว่า 40% ถูกโกงกินจากเรื่องทุจริตคอรัปชั่น ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ ที่พวกเรา คนไทยทุกคนต้องช่วยกัน ผนึกกำลังกัน ต้านพวกโกงบ้านกินเมือง แจ้งเบาะแส ของพวกคนโกง ให้ทางเราทราบ เพื่อดำเนินการ เอาผิดตามกฎหมาย ต่อไป สำหรับ กระบวนการ สรรหา ทางเราจะนำข้อมุล รายชื่อของบุคคล ที่ได้รับการเสนอชื่อ เข้ารับการคัดเลือก ขึ้น ระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ประชาชน ได้มีส่วนรับรู้ และแจ้งข้อมูลกลับไปยังเราว่า บุคคลดังกล่าว มีประวัติดีร้ายอย่างไร เหมาะสมที่จะมาเป็นผู้ที่ปราบทุจริตคอรัปชั่น ได้หรือไม่ วึ่งในขั้นตอนนี้ ประชาชน และ สื่อมวลชน จะมีส่วนช่วยได้มาก เพราะเป็นคนพื้นที่
ซึ่งจะรู้ข้อมุลได้ดีกว่าทางเรา               
 
                      นายวิชา มหาคุณ ยังเปิดเผยอีกว่า การทำงานร่วมกัน กับ องค์กรสื่อมวลชน และ องค์กรภาคี ภาคประชาชน จะสามารถ เป็นอีกแนวทางหนึ่ง ที่จะสามารถ สะกัดกั้น และ ต่อต้านการทุจริต คอรัปชั่น ได้ทางหนึ่ง ซึ่งก็ต้องฝาก ถึง พี่น้องประชาชน คนสุพรรณบุรี และ สื่อมวลชน ทุกสาขาอาชีพ ได้ร่วมมือกัน ขจัดสิ้น ทุจริตคอรัปชั่น ให้หมดสิ้นไปจากบ้านเมืองเรา เพื่อความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมืองต่อไป ด้าน นายสมพล กาญจนโสภณ รกท.ผอ.สำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี เปิดเผยว่า ทางสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี มีความพร้อม ในการดำเนินการ คัดเลือกคณะกรรมการสรรหา จาก 9 กลุ่มองค์กร ที่กฎหมายกำหนด ในวันที่ 20 เมษายน 2556 นี้ เพื่อไปคัดเลือก กรรมการ ป.ป.ช.ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี อีกต่อหนึ่ง เรามีบุคลากร จำนวน 9 คน ซึ่งจะสามารถ ประสานได้ในหลายๆเรื่อง เพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ โดยประชาชน สามารถแจ้งข้อมูลเบาะแส การทุจริตคอรัปชั่น ได้ที่ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี หลังที่ว่าการ อำเภอเมือง จ.สุพรรณบุรี โทร 035-511178- 9 เว็บไซต์ http://naccsuphanburi.blogspot.com/ ป.ป.ช. สุพรรณบุรี | Facebook หรือสายด่วน ป.ป.ช. 1205                   

วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556

การรับสมัคร "คณะกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.จ."
 
 
ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2556 ทางสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี จะเริ่มกระบวนการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.จ.ขึ้นมาคณะหนึ่งจำนวนเก้าคน เพื่อมาทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอรายชื่อเป็นกรรมการ ป.ป.จ. ประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานหรือองค์กรในแต่ละจังหวัด รวม ๙ กลุ่มหน่วยงานหรือองค์กร  ซึ่งคัดเลือกกันเองให้เหลือหน่วยงานหรือองค์กรละหนึ่งคน ดังนี้
                    1. สมาคมหรือชมรมครู อาจารย์ หรือสมาคมทางด้านการศึกษา
                    2. สภาทนายความหรือผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย
                    3. สมาคมหรือชมรมพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือสภาแรงงาน หรือสหภาพแรงงาน
                    4. สภาหอการค้าจังหวัดหรือสภาอุตสาหกรรมจังหวัดหรือชมรมธนาคารพาณิชย์จังหวัด
                    5. กลุ่มอาสาสมัคร
                    6. องค์กรเอกชน
                    7. องค์กรเกษตรกร
                    8. สมาคมหรือชมรมสื่อมวลชน
                    9. หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด
 
 
                    คณะกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.จ.เมื่อผ่านการสรรหาเรียบร้อยแล้ว จะเข้ามามีบทบาทสำคัญดังนี้
                   (1) ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม ประวัติ และพฤติการณ์ของผู้สมัครเป็นกรรมการ ป.ป.จ. แต่ละราย
        (2) พิจารณาคัดเลือกผู้สมัครกรรมการ ป.ป.จ. ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามซึ่งสมควรได้รับการเสนอรายชื่อเป็นกรรมการ ป.ป.จ.
        (3) คณะกรรมการสรรหาสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการ ป.ป.จ. เสร็จสิ้นแล้ว
                    ทั้งนี้ในการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.จ. เลขาธิการฯ จะประกาศกำหนดวัน เวลา และสถานที่การขอขึ้นทะเบียนคัดเลือกกรรมการสรรหาและการคัดเลือกกันเองของผู้แทนหน่วยงานหรือองค์กร รวมทั้งแนวทางปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหาฯ อีกครั้งหนึ่ง 

         หากผู้ใดมีความประสงค์เข้ารับการคัดเลือกและสรรหาสามารถยื่นใบสมัครได้ที่ที่ทำการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ว่าการอำเภอเมืองสุพรรรบุรี ถนนพระพันวษา ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี 72000 โทร. ๐๓๕-๕๑๑๑๗๘-๗๙   Facebook : ป.ป.ช.สุพรรณบุรี
             หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน ป.ป.ช. 1205

 
 


วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556

จับตา " วิชา มหาคุณ " ป.ป.ช. โผล่ สุพรรณบุรี ก่อนสรรหากรรมการ ป.ป.จ.สุพรรณ

            

             นายวิชา มหาคุณ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ปปช. มีกำหนดการเดินทางมาดูความเรียบร้อย ในกระบวนการสรรหา คณะกรรมการสรรหากรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประจำจังหวัด หรือ ป.ป.จ. ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 20 เมษายน 2556 นี้ โดยคณะกรรมการสรรหา  ป.ป.จ.จะมีบทบาทหน้าที่ ในการสรรหากรรมการ ป.ป.จ. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ต่อไป นายวิชา มหาคุณ จะเดินทางมาที่ สนง.ป.ป.จ. สุพรรณบุรี ในวันพุธ ที่ 17 เมษายน 2556 เวลา 11.00 -12.00 น. เพื่อตรวจเยี่ยม ร่วมประชุม รับฟังการเตรียมความพร้อม ในการสรรหา คณะกรรมการสรรหา ป.ป.จ. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ฯลฯ


 

             
               นายสมพล กาญจนโสภณ รกท.ผอ.สำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี  เปิดเผย  จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นจังหวัดหนึ่ง ที่ได้รับการจับตามอง เพราะเคยได้รับการขนานนามให้เป็นจังหวัดที่อยุ่ดีมีสุข เป็นที่ 1 ของประเทศไทย ความเจริญรุ่งเรืองในโครงสร้างพื้นฐานก็ไม่เป็นสองรองใคร มีผู้ใหญ่ในพื้นที่ คอยดูแลเอาใจใส่ ปัจจุบันมีแหล่งท่องเที่ยว ที่น่าสนใจ ได้แก่ สวนเฉลิมภัทรราชินี หรือ หอคอยบรรหาร แจ่มใส  ตลาดร้อยปีสามชุก บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติฯ และ ใหม่ล่าสุด พื้นที่พิเศษเพื่อการาท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เมืองโบราณอู่ทอง  ในส่วนของการทุจริตคอรัปชั่น ส่วนใหญ่ยังไม่มีอะไร ที่เด่นชัด พบเรื่องร้องเรียนในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น   และ ส่วนราชการ บ้าง แต่ก็ยังมีไม่มากนัก อาจเนื่องจาก เพิ่งจะมาเปิดสำนักงาน และ ยังไม่ค่อยได้ทำงานร่วมกับสื่อมวลชนมากนักจึงยังไม่ค่อยได้รับข้อมูล ด้านทุจริตคอรัปชั่น ในพื้นที่
                    สำหรับสาระสำคัญๆ ที่ทาง ปปช. สุพรรณบุรี จะนำเรียน จะเป็นประเด็น ของ ทำไมถึงต้องมี คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด ( คณะกรรมการ ป.ป.จ.)  คณะกรรมการ ป.ป.จ. ประกอบด้วยใครบ้าง  คณะกรรมการ ป.ป.จ.มีบทบาทหน้าที่อะไร  หน่วยงานหรือองค์กรที่ประสงค์จะส่งผู้แทนของหน่วยงานหรือองค์กร จะต้องมาขึ้นทะเบียนเมื่อไร  ผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้ามาเป็น กรรมการ ป.ป.จ.จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง จังหวัดสุพรรณบุรี มีกรรมการ ป.ป.จ. ได้กี่คน  กรรมการ ป.ป.จ.มีบทบาทหน้าที่อะไร  กรรมการ ป.ป.จ.มีวาระการดำรงค์ตำแหน่งกี่ปี ได้กี่วาระ กรรมการ ป.ป.จ.ไดรับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง เริ่มเปิดรับสมัครผู้ประสงค์จะเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการ ป.ป.จ.วันที่เท่าไร ซึ่งคำตอบเหล่านี้ เราจะมีให้ในวันที่ 17 เมษายน 2556 นี้
                  ด้านนางสาววรรณภา เวทย์ธัญญาภรณ์  หรือ คุณอ้อ เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตปฏิบัติการ ทำหน้าที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ องค์กร เปิดเผยว่า ทางสำนักงาน กำลังจัดทำเว็บไซต์ และ FaceBook ของสำนักงาน เพื่อการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์งานของสำนักงาน ปปช. สุพรรณบุรี แก่ประชาชน โดยทั่วไป และ จะทำการเชื่อมโยงข้อมูลกับ สื่อมวลชน ในพื้นที่ เพื่อจะได้ทันต่อเหตุการณ์ และสถานการณ์ข่าว ได้มากยิ่งขึ้น
               
               นางสาววรรณภา เวทย์ธัญญาภรณ์ เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตปฏิบัติการ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุพรรณบุร โทร.๐๓๕-๕๑๑๑๗๘-๙   Facebook : ป.ป.ช. สุพรรณบุรี

ป.ป.ช.สุพรรณดีเดย์กระบวนการสรรหากรรมการ ป.ป.จ. เมษายน 2556



สำนักงาน ป.ป.ช. เริ่มดีเดย์กระบวนการสรรหากรรมการ ป.ป.จ. เดือนเมษายน 2556
                  สำนักงาน ป.ป.ช. จะเริ่มต้นกระบวนการสรรหากรรมการ ป.ป.จ. ครั้งแรก ๒๐ เมษายนนี้ เริ่มในพื้นที่ ๓๒ จังหวัดก่อน สำหรับครั้งที่สอง จะเริ่มในเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๖ จำนวน ๔๔ จังหวัด
                  สืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๔๖ วรรคท้าย บัญญัติให้มีกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด โดยคุณสมบัติ กระบวนการสรรหา และอำนาจหน้าที่ ให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้  ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงได้ออกระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๕ เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด 
                 ในระเบียบดังกล่าว สำนักงาน ป.ป.ช. จึงมีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานให้มี การสรรหากรรมการ ป.ป.จ. ประกอบด้วย ๒ ภารกิจ ดังนี้
              ภารกิจที่ ๑ การดำเนินการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.จ. โดยให้ผู้แทนหน่วยงานหรือองค์กรในแต่ละจังหวัด รวม ๙ กลุ่มองค์กรหรือหน่วยงาน คัดเลือกกันเองให้เหลือหน่วยงานหรือองค์กรละหนึ่งคน รวม ๙ คน ทำหน้าที่สรรหากรรมการ ป.ป.จ. ในภารกิจที่ ๒ ต่อไป
             ภารกิจที่ ๒ การสรรหากรรมการ ป.ป.จ. โดยประกาศรับสมัครจากบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จากนั้นให้คณะกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.จ. พิจารณาคัดเลือกไว้เป็นสองเท่าของจำนวนกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด แล้วนำรายชื่อจัดทำบัญชีเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาคัดเลือกและแต่งตั้งให้เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัดตามจำนวนของแต่ละจังหวัดต่อไป
             ดังนั้นในภารกิจที่ ๑ จะดำเนินการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.จ. ขึ้นมาคณะหนึ่งก่อนในแต่ละจังหวัด โดยดีเดย์ครั้งแรก ประมาณ ๒๐ เมษายน  ในพื้นที่ ๓๒ จังหวัดที่ได้เปิดดำเนินการสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดมาก่อนแล้ว  และครั้งที่ ๒ ประมาณเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๖ เริ่มในพื้นที่ ๔๔ จังหวัดที่เหลือ  การคัดเลือกคณะกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.จ. จะสรรหาจากผู้แทนหน่วยงานหรือองค์กร  ในแต่ละจังหวัดรวม ๙ กลุ่มองค์กร ตามที่กฎหมายกำหนดประกอบด้วย
       ๑. สมาคมหรือชมรมครู อาจารย์ หรือสมาคมทางด้านการศึกษา
       ๒. สภาทนายความหรือผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย
       ๓. สมาคมหรือชมรมพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือสภาแรงงาน หรือสหภาพแรงงาน
       ๔. สภาหอการค้าจังหวัดหรือสภาอุตสาหกรรมจังหวัดหรือชมรมธนาคารพาณิชย์จังหวัด
       ๕. กลุ่มอาสาสมัคร
       ๖. องค์กรเอกชน
       ๗. องค์กรเกษตรกร
       ๘. สมาคมหรือชมรมสื่อมวลชน
       ๙. หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด
                 คณะกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.จ.เมื่อผ่านการสรรหาเรียบร้อยแล้ว จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสรรหากรรมการ ป.ป.จ.ในแต่ละจังหวัด ซึ่งเป็นการดำเนินงานในภารกิจที่ ๒ โดย ขั้นแรกคือ ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม ประวัติ และพฤติการณ์ของผู้สมัครเป็นกรรมการ ป.ป.จ. แต่ละราย ขั้นที่ ๒ คือ พิจารณาคัดเลือกผู้สมัครกรรมการ ป.ป.จ. ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามซึ่งสมควรได้รับการเสนอรายชื่อเป็นกรรมการ ป.ป.จ. ส่งมาให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณาคัดเลือกและแต่งตั้งต่อไป
                การสรรหากรรมการ ป.ป.จ. ในแต่ละจังหวัดจะต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่าสามคนแต่ไม่เกินห้าคน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ ป.ป.จ. คนหนึ่ง และกรรมการ ป.ป.จ. ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. และให้ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด ทำหน้าที่เป็นเลขานุการของคณะกรรมการ ป.ป.จ. ซึ่งการกำหนดจำนวนกรรมการ ป.ป.จ. ในแต่ละจังหวัด ให้คำนวณโดยการนำประชากรในจังหวัดที่มีจำนวนประชากรสูงสุดยกเว้นกรุงเทพมหานครมาหารด้วยสอง ได้จำนวนเท่าใดให้ใช้เป็นฐานในการคำนวณ จังหวัดใดมีจำนวนประชากรตั้งแต่กึ่งหนึ่งขึ้นไปของจำนวนประชากรที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณ ให้จังหวัดนั้นมีกรรมการ ป.ป.จ. จำนวนห้าคน จังหวัดใดมีจำนวนประชากรน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของฐานในการคำนวณ ให้จังหวัดนั้นมีกรรมการ ป.ป.จ. จำนวนสามคน
                การสรรหาคนดีในพื้นที่มาเป็นกรรมการ ป.ป.จ. ในแต่ละจังหวัด จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะกรรมการ ป.ป.จ. มีบทบาทในการส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. รวมทั้งการประสานความร่วมมือกับประชาชนและส่วนราชการเพื่อเผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนในทุกระดับได้ตระหนักถึงผลกระทบจากการทุจริต อันเป็นการป้องกันการทุจริตและเสริมสร้างทัศนคติและค่านิยมเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริต ให้ประชาชนหรือกลุ่มบุคคลในทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในระดับพื้นที่
                ผู้ที่มีสิทธิสมัครเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการ ป.ป.จ. ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
             คุณสมบัติ
(๑) เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
(๒) มีความรู้ความสามารถและมีผลงานเป็นที่ยอมรับในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
(๓) มีสัญชาติไทย
(๔) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปีบริบูรณ์ และไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
(๕) รับหรือเคยรับราชการในระดับไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์หรือมีผลงานเป็นที่ยอมรับในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หรือเป็นผู้ซึ่งองค์การพัฒนาเอกชนหรือองค์กรวิชาชีพที่มีกฎหมายรับรองและปฏิบัติงานมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปีโดยองค์การพัฒนาเอกชนหรือองค์กรวิชาชีพให้การรับรอง
            ไม่มีลักษณะต้องห้าม
(๑) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(๒) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
(๓) ติดยาเสพติดให้โทษ
(๔) เป็นบุคคลล้มละลาย หรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(๕) ต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้ว่าคดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุดหรือมีการรอการลงโทษหรือเคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท
(๖) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ
(๗) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
(๘) เคยถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใด
               กรรมการ ป.ป.จ.ในแต่ละจังหวัดที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและผ่านกระบวนการสรรหาเรียบร้อยแล้ว จะต้องปฏิบัติงานที่สำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดนั้น ๆ  และมีวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปีนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระไม่ได้ ไม่ว่าในจังหวัดใด  สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ ป.ป.จ. ดังกล่าวมีสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้รับ ดังต่อไปนี้
(๑) ค่าตอบแทนรายเดือน ในตำแหน่งประธานกรรมการ ป.ป.จ. เดือนละ ๕๗,๖๕๐ บาท ตำแหน่งกรรมการ ป.ป.จ. เดือนละ ๔๗,๒๔๐ บาท
(๒) บำเหน็จตอบแทน
(๓) การประกันสุขภาพ
(๔) ประโยชน์ตอบแทนอื่นตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด
(๕) มีสิทธิได้รับการเสนอชื่อเพื่อขอรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
              อนึ่งเพื่อให้ได้ผู้สมัครเข้ารับการสรรหาที่มีคุณสมบัติถูกต้องและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวข้างต้น ประกอบกับเพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานอย่างโปร่งใส ให้ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครให้แก่สื่อมวลชนในจังหวัดดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบ หากเห็นว่าเป็นบุคคลที่ไม่เหมาะสมขอให้รีบแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับประวัติและพฤติการณ์ให้สำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดทราบผ่านทางเว็บไซต์ ไปรษณีย์ หรือช่องทางอื่นภายในระยะเวลาที่กำหนด 
             
 


             ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวข้างต้นดำเนินงานไปได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคลากรของสำนักงาน ป.ป.ช.ทุกท่านในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจหรือประชาชนทั่วไปให้ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ในการค้นหาคนดีในพื้นที่มาเป็นคณะกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.จ. และกรรมการ ป.ป.จ. ได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง เมื่อสำนักงาน ป.ป.ช.ได้คนดีในพื้นที่มาเป็นกรรมการ ป.ป.จ.ซึ่งจะเป็นฟันเฟืองที่สำคัญในแต่ละพื้นที่ที่จะเร่งระดมปูพรมกำจัดการทุจริตอย่างครบวงจรต่อไป
              นายสมพล กาญจนโสภณ รกท.ผอ.สำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี  เปิดเผยว่า ทางสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี จะเริ่มกระบวนการสรรหา ตั้งแต่  วันที่ 20 เมายน 2556 เป็นต้นไป สำนักงาน ป.ป.ช ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี จึงขอประชาสัมพันธ์การคัดเลือก คณะกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.จ. และ การสรรหากรรมการ ป.ป.จ. มาให้ทราบในเบื้องต้นก่อน  หากข่าวสารสำนักงาน ป.ป.ช. มีความคืบหน้าในรายละเอียดต่าง ๆ จะนำมารายงานให้ทราบในโอกาสต่อไป

นางสาววรรณภา เวทย์ธัญญาภรณ์ เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตปฏิบัติการ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี โทร ๐๓๕-๕๑๑๑๗๘-๙