วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี

หลังจากที่ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ดำเนินการประกาศรับสมัครบุคคลผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย
 (ตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๒๗ วรรค ๒)
 ที่ประะสงค์จะสมัครเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี น้ัน

บัดนี้ คณะกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัดสุพรรณบุรี
ทั้ง ๙ ท่าน ได้แก่

๑. นายพิภพ บุญธรรม             ประธานกรรมการ
 ๒. นายอดิศักดิ์ สามงามแสน              กรรมการ
     ๓. นายปฐม ขำพลับ                           กรรมการ
     ๔. นายวัชรินทร์ กบิลพัฒน์                  กรรมการ
๕. นายมนัสทพงษ์ ห้วยหงษ์ทอง       กรรมการ
๖. นางศิริณี วัธนินทร                          กรรมการ
๗. นายเฉลิม ปิ่นสกุล                         กรรมการ
๘. นายชูชาติ อินสว่าง                        กรรมการ
๙. นายปัญญวัฒน์ พุกพาน                  กรรมการ


ได้ดำเนินการคัดเลือกผู้ที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวนสองเท่าที่จะพึงมีในจังหวัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ซึ่งได้ดำเนินการลงคะแนนคัดเลือกผู้สมัครฯ เมื่อวันอังคารที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๐.๐๐ น.
ณ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี




สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี จึงขอประกาศบัญชีรายชื่อผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัดสุพรรณบุรี เรียงตามลำดับอักษร ดังนี้

๑. นายชูศักดิ์ กุลทัพ
๒. นายทวีชัย พลายชุมพล
๓. นายมานพ พลเสน
๔. นายเรืองศักดิ์ สุขาทิพยพันธุ์
๕. นายสมเกียรติ ทรัพย์สวนแตง
๖. พลตำรวจตรี สมศักดิ์ รักซ้อน


ทั้งนี้ ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์ ของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการ ป.ป.จ. ได้ โดยแจ้งข้อมูลทางเว็บไซต์หรือทางไปรษณีย์ของสำนักงาน ป.ป.ช.

สำนักงาน ป.ป.ช.
เลขที่ ๓๖๑ ถนนนนทบุรี - สนามบินน้ำ ตำบลท่าทราบ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ หรือ
ตู้ ปณ. ๑๐๐ เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
โทรศัพท์ : ๐๒-๕๒๘-๔๘๐๐-๔๙ , ๐๒-๒๘๒-๓๑๖๑-๕
Website : www.nacc.go.th



วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี

วันนี้เมื่อเวลา ๐๙.๐๐ - ๑๕.๐๐ น. สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ได้มีการเปิดโอกาสให้ผู้สมัครเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัดสุพรรณบุรี หรือกรรมการ ป.ป.จ. ทั้ง ๒๒ คนได้แสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับประวัติ  ประสบการณ์ พฤติการณ์ที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ต่อคณะกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.จ. ท้ัง ๙ ท่าน
ณ ห้องประชุมสำนักงาน กกต. จังหวัดสุพรรณบุรี








 
 

 





 

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556



 


สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี
 
ขอเชิญชวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งในจังหวัดสุพรรณบุรี
 
สมัครเข้ารับ การคัดเลือกรางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดีเด่น
 
 ด้านการป้องกันการทุจริต ประจำปี ๒๕๕๖

ด้วยสำนักป้องกันการทุจริตภาคการเมือง ได้ดำเนินงานโครงการส่งเสริมท้องถิ่นปลอดทุจริต ประจำปี ๒๕๕๖ กิจกรรมการคัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดีเด่น ด้านการป้องกันการทุจริต  จึงขอเชิญชวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งในจังหวัดสุพรรณบุรี สมัครเข้ารับการคัดเลือกฯ ภายในวันที่
๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๖ (โดยถือวันประทับตราไปรษณีย์ต้นทางเป็นสำคัญ)
 
ส่งใบสมัครพร้อมเอกสารประกอบไปยัง สำนักงานป้องกันการทุจริตภาคการเมือง สำนักงาน ป.ป.ช.
เลขที่ ๓๖๑ ถนนนนทบุรี ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนบุรี ๑๑๐๐๐
ดาวน์โหลดเอกสารใบสมัครได้ที่เว็บไซต์      www.nacc.go.th
 
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม   สำนักป้องกันการทุจริตภาคการเมือง สำนักงาน ป.ป.ช.
โทรศัพย์ ๐ ๒๒๘๒ ๙๕๙๑  โทรสาร ๐ ๒๒๘๒ ๓๒๔๘ ในวันและเวลาราชการ
 
 


 
 
 
 

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประกาศรายชื่อหน่วยงานหรือองค์กรที่ได้รับการขึ้นทะเบียน

 
ประกาศสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี
เรื่อง  รายชื่อหน่วยงานหรือองค์กรที่ได้รับการขึ้นทะเบียนส่งผู้แทนเพื่อคัดเลือกกรรมการสรรหา
กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัดสุพรรณบุรี
                                                         .
 
กกกกกกกกกกกกกกกตามที่ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ดำเนินการจัดให้มีการขอขึ้นทะเบียน ของหน่วยงานหรือองค์กรส่งผู้แทนเพื่อคัดเลือกกันเองเป็นกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปราม  การทุจริตประจำจังหวัดสุพรรณบุรี และผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ตรวจสอบลักษณะคุณสมบัติและการดำเนินการของหน่วยงานหรือองค์กรแล้ว นั้น
กกกกกกกกกกกกกกกเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๒๓ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด จึงประกาศรายชื่อหน่วยงานหรือองค์กรที่ได้รับการขึ้นทะเบียนส่งผู้แทนเพื่อคัดเลือกกรรมการ  สรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามประเภทของหน่วยงานหรือองค์กร ดังนี้
 
๑. สมาคมหรือชมรมครู อาจารย์ หรือสมาคมทางด้านการศึกษา
    จำนวน หน่วยงานหรือองค์กร
    ๑.๑ สมาคมการศึกษาปฐมวัยจังหวัดสุพรรณบุรี
    ๑.๒ ศูนย์สมาคมครูและบุคลากรทางการศึกษาดอนเจดีย์
    ๑.๓ สมาคมครูและบุคลากรทางการศึกษาสุพรรณบุรี
    ๑.๔ สมาคมครูสุพรรณบุรี
    ๑.๕ ผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาสุพรรณบุรี
    ๑.๖ สมาคมครูวิทยาศาสตร์สุพรรณบุรี
    ๑.๗ สมาคมผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสุพรรณบุรี
๒. สภาทนายความหรือผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย
    จำนวน หน่วยงานหรือองค์กร
     ๒.๑ สภาทนายความจังหวัดสุพรรณบุรี 
๓. สมาคมหรือชมรมพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือสภาแรงงาน หรือสหภาพแรงงาน
    จำนวน หน่วยงานหรือองค์กร
    ๓.๑ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุพรรณบุรี
๔. สภาหอการค้าจังหวัดหรือสภาอุตสาหกรรมจังหวัดหรือชมรมธนาคารพาณิชย์จังหวัด
    จำนวน หน่วยงานหรือองค์กร
    ๔.๑ หอการค้าจังหวัดสุพรรณบุรี
    ๔.๒ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสุพรรณบุรี
๕. กลุ่มอาสาสมัคร
    จำนวน หน่วยงานหรือองค์กร
    ๕.๑ มูลนิธิโสภณสุตกิจอุทิศ
    ๕.๒ อาสาพัฒนาชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี
    ๕.๓ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขอำเภอเดิมบางนางบวช
    ๕.๔ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี
    ๕.๕ มูลนิธิศุภมิตรร่วมใจ
    ๕.๖ เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน จังหวัดสุพรรณบุรี
          (ทสม.จังหวัดสุพรรณบุรี)
    ๕.๗ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขอำเภอเมืองสุพรรณบุรี
๖. องค์กรเอกชน
    จำนวน หน่วยงานหรือองค์กร
    ๖.๑ สมาคมฌาปณกิจสงเคราะห์การเกษตรเมืองสุพรรณบุรี
    ๖.๒ สมาคมฌาปณกิจสงเคราะห์การเกษตรด่านช้าง
    ๖.๓ สมาคมฌาปณกิจสงเคราะห์สมาชิกการเกษตรศรีประจันต์
    ๖.๔ สมาคมชมรมผู้ปกครอง ครู และศิษย์เก่าโรงเรียนอนุบาลสุพรรณบุรี
    ๖.๕ สมาคมศาลตายาย จังหวัดสุพรรณบุรี
    ๖.๖ สมาคมฌาปณกิจสงเคราะห์การเกษตรหนองหญ้าไซ
    ๖.๗ สมาคาฌาปณกิจสงเคราะห์การเกษตรสองพี่น้อง
    ๖.๘ ฌาปณกิจสงเคราะห์สหกรณ์การเกษตรบางปลาม้า จำกัด
    ๖.๙ สมาคมฌาปณกิจสงเคราะห์การเกษตรอู่ทอง
๗. องค์กรเกษตร
    จำนวน ๓๕ หน่วยงานหรือองค์กร
     ๗.๑ สหกรณ์การเกษตรด่านช้าง
     ๗.๒ สหกรณ์การเกษตรศรีประจันต์
     ๗.๓ สหกรณ์นิคมด่านช้าง
     ๗.๔ สหกรณ์การเกษตรวังหว้า
     ๗.๕ กลุ่มเกษตรกรทำไร่สระกระโจม
     ๗.๖ กลุ่มเกษตรกรทำนาบ้านกร่าง
     ๗.๗ กลุ่มเกษตรกรทำนากระเสียว
     ๗.๘ กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์หนองสาหร่าย
     ๗.๙ สหกรณ์การเกษตรดอนเจดีย์ จำกัด
     ๗.๑๐ กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์สามชุก
     ๗.๑๑ กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์กระเสียว
     ๗.๑๒ กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์บ้านสระ
     ๗.๑๓ สหกรณ์การเกษตรเดิมบาง
     ๗.๑๔ สหกรณ์การเกษตรสามชุก
     ๗.๑๕ สหกรณ์เกษตรอู่ทอง
     ๗.๑๖ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรี
     ๗.๑๗ สหกรณ์การเกษตรสองพี่น้อง
     ๗.๑๘ สหกรณ์การเกษตรบางปลาม้า จำกัด
     ๗.๑๙ สหกรณ์การเกษตรเมืองสุพรรณบุรี
     ๗.๒๐ สหกรณ์การเกษตรหนองหญ้าไซ
     ๗.๒๑ กลุ่มเกษตรกรทำนาตำบลทัพหลวง
     ๗.๒๒ กลุ่มเกษตรกรทำไร่ตำบลหนองบ่อ
     ๗.๒๓ กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์วังยาว
     ๗.๒๔ กลุ่มเกษตรกรทำนาบางกุ้ง
     ๗.๒๕ กลุ่มเกษตรกรทำนาบางปลาม้า
     ๗.๒๖ กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ตำบลทัพหลวง
     ๗.๒๗ กลุ่มเกษตรกรทำไร่สระยายโสม
     ๗.๒๘ กลุ่มเกษตรกรทำนาหนองขาม
     ๗.๒๙ กลุ่มเกษตรกรทำนารั้วใหญ่
     ๗.๓๐ กลุ่มเกษตรกรทำนาหนองราชวัตร
     ๗.๓๑ กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์นิคมกระเสียว
     ๗.๓๒ กลุ่มเกษตรกรทำไร่จระเข้สามพัน
     ๗.๓๓ กลุ่มเกษตรกรทำนาพิหารแดง
     ๗.๓๔ กลุ่มเกษตรกรทำนาไร่รถ
     ๗.๓๕ กลุ่มเกษตรกรทำนาหนองสาหร่าย
๘. สมาคมหรือชมรมสื่อมวลชน
    จำนวน หน่วยงานหรือองค์กร
    ๘.๑ สมาคมสื่อมวลชนสุพรรณบุรี
๙. หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด
    จำนวน ๒๓ หน่วยงานหรือองค์กร
    ๙.๑ สำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี
    ๙.๒ สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุพรรณบุรี
    ๙.๓ สำนักงานที่ดินจังหวัดสุพรรณบุรี
    ๙.๔ สำนักงานคลังจังหวัดสุพรรณบุรี
    ๙.๕ เรือนจำจังหวัดสุพรรณบุรี
    ๙.๖ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุพรรณบุรี
    ๙.๗ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุพรรณบุรี
    ๙.๘ สำนักงานแรงงานจังหวัดสุพรรณบุรี
    ๙.๙ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุพรรณบุรี
    ๙.๑๐ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสุพรรณบุรี
    ๙.๑๑ ที่ทำการปกครองจังหวัดสุพรรณบุรี
    ๙.๑๒ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุพรรณบุรี
    ๙.๑๓ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี
    ๙.๑๔ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี
    ๙.๑๕ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี
    ๙.๑๖ สำนักงานจัดหางานจังหวัดสุพรรณบุรี
    ๙.๑๗ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุพรรณบุรี
    ๙.๑๘ สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี
    ๙.๑๙ สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี
    ๙.๒๐ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสุพรรณบุรี
    ๙.๒๑ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุพรรณบุรี
    ๙.๒๒ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสุพรรณบุรี
    ๙.๒๓ สำนักงานประมงจังหวัดสุพรรณบุรี
 
            ทั้งนี้ ผู้มีส่วนได้เสียผู้ใด ประสงค์จะโต้แย้งหรือคัดค้านการขึ้นทะเบียนหรือถูกปฏิเศษการขึ้นทะเบียน สามารถยื่นคำร้องตามแบบ ป.ป.จ. ๙ ต่อผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. ถึงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.
 
สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี หลังที่ว่าการอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ถนนพระพันวษา ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
โทร. ๐๓๕-๕๑๑๑๗๘    Fax. ๐๓๕-๕๑๑๑๗๗
 
 
 
 
 
 
 

 
   
 

 
 
 
 
 

 
 

 
 
 

 




 

 

 


 
 

 


 
 
 
 

 
 
 
 
 


วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

 
สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี
 
บรรยาย"กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต"ให้กับพระนักศึกษา
 

เมื่อวันพุธที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๕.๐๐ น. นายสมพล กาญจนโสภณ เจ้าพนักงานปราบปรามการทุจริตเชี่ยวชาญ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากร บรรยายพิเศษในหัวข้อ "กฏหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต" ให้กับพระนักศึกษาระดับพระสังฆาธิการ ชั้นปีที่ ๓ จำนวน ๘๕ รูป ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
 

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันระดับอุดมศึกษา ที่มุ่งจัดการศึกษาแก่พระภิกษุ-สามเณร ได้จัดตั้งหน่วยวิทยบริการขึ้นที่ วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี โดยในปีการศึกษา ๒๕๕๕ ทางหน่วยวิทยบริการฯ ได้เปิดหลักสูตรภาคฤดูร้อนถวายความรู้ให้แก่พระนิสิต ที่กำลังเรียนระดับปริญญาตรี ปีที่ ๓ ซึ่งมีวิชา กฏหมายทางการจัดการ อันเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาที่มีการเรียนการสอน 
 

โดยทางหน่วยวิทยบริการฯ ได้มีการพิจารณาแล้วเห็นว่า การจัดให้พระนิสิตได้เรียนรู้จากบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่โดยตรงและมีความรู้ความสามารถในด้านกฎหมายเป็นอย่างดี น่าจะทำให้พระนิสิตเกิดองค์ความรู้ที่กว้างขวางและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ต่อไปได้
 

ในการนี้สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี โดยนายสมพล กาญจนโสภณ เจ้าพนักงานปราบปรามการทุจริตเชี่ยวชาญ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ประชาสัมพันธ์สำนักงานฯ บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับหน่วยงาน ป.ป.ช.  บทบาทและอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน ช่องทางการร้องเรียนกรณีพบเห็นการทุจริต และบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๒ อีกทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับกรณีของการทุจริต ให้กับพระนักศึกษาระดับพระสังฆาธิการ ช้ันปีที่ ๓ รวมจำนวน ๘๕ รูป
 

 
จากการบรรยายดังกล่าว พระนักศึกษาได้ให้การตอบรับและมีความสนใจซักถามรายละเอียดข้อสงสัยเกี่ยวกับการทุจริต อำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน ป.ป.ช. และข้อกฎหมายต่างๆกันอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้พระนักศึกษาได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหน่วยงาน ป.ป.ช. มากขึ้น 
 
 
นางสาววรรณภา เวทย์ธัญญาภรณ์ เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตปฏิบัติการ
สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี หลังที่ว่าการอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ถนนพระพันวษา
ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ๗๒๐๐๐
โทร. ๐๓๕-๕๑๑๑๗๘  / Fax. ๐๓๕-๕๑๑๑๗๗
 









 
 
 

วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

 
สำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ชวน 9 กลุ่มองค์กร ร่วมเป็นกรรมการสรรหา ป.ป.จ.
 

 
 
นายสมพล กาญจนโสภณ เจ้าพนักงานปราบปรามการทุจริตเชี่ยวชาญ รักษาราชการแทนสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ให้สัมภาษณ์ออกอากาศ ทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดสุพรรณบุรี ระบบ FM ๑๐๒.๒๕ MHz เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๖.๓๐ - ๑๗.๐๐ น.
 
กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. กำหนดให้มีการดำเนินการในกระบวนการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด หรือ ป.ป.จ. ขึ้น ซึ่งขั้นตอนแรกจะมีการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหาจากผู้แทนหน่วยงานหรือองค์กรในจังหวัดสุพรรณบุรี 9 กลุ่มองค์กร ประกอบด้วย สมาคม หรือชมรมครู อาจารย์ หรือสมาคมทางด้านการศึกษา สภาทนายความหรือผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย สมาคมหรือชมรมพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือสภาแรงงาน หรือสหภาพแรงงาน สภาหอการค้าจังหวัดหรือสภาอุตสาหกรรมจังหวัดหรือชมรมธนาคารพาณิชย์จังหวัด กลุ่มอาสาสมัคร องค์กรเอกชน องค์กรเกษตรกร สมาคมหรือชมรมสื่อมวลชน และหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด โดยคณะกรรมการสรรหาฯ เหล่านี้ จะเป็นผู้ดำเนินการคัดเลือกผู้สมัครที่มีความเหมาะสม เพื่อเสนอชื่อให้กับคณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการ ป.ป.จ.ในการทำหน้าที่ตรวจสอบการทุจริตที่เกิดขึ้นในจังหวัดต่อไป
 
 
จึงขอเชิญชวนองค์กรหรือประชาชนทั้ง 9 กลุ่ม ส่งผู้แทนร่วมเป็นกรรมการสรรหา เพื่อคัดเลือกกรรมการ ป.ป.จ. ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน ถึง วันที่ 8 พฤษภาคมนี้ ไม่เว้นวันหยุดราชการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน ป.ป.ช. จังหวัดสุพรรณบุรี หลังที่ว่าการอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ถนนพระพันวษา ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี โทร 035-511178 หรือสายด่วน ป.ป.ข.1205
 
วรรณภา เวทย์ธัญญาภรณ์ เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตปฏิบัติการ
 
 
 



วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556




ลักษณะคุณสมบัติและการดำเนินการของหน่วยงานหรือองค์กรที่สามารถขอขึ้นทะเบียนได้

๑.   หน่วยงานหรือองค์กรที่ขอขึ้นทะเบียน ต้องเป็นหน่วยงานหรือองค์กรที่มีลักษณะตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๒๐

                 (๑) สมาคมหรือชมรมครู อาจารย์ หรือสมาคมทางด้านการศึกษา
                       หมายความถึง สมาคมหรือชมรมซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาอื่น ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการศึกษา ให้บริการหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษา
                 (๒) สภาทนายความหรือผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย
                       หมายความถึง สภาทนายความหรือสภาทนายความจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยทนายความหรือองค์กรผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายอื่น
                 (๓) สมาคมหรือชมรมพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือสภาแรงงาน หรือสหภาพแรงงาน
                       หมายความถึง สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
หรือสภาแรงงานหรือสหภาพแรงงงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมหรือกลุ่มบุคคลซึ่งเป็นตัวแทนชองพนักงานหรือลูกจ้างที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างและระหว่างลูกจ้างด้วยกัน หรือพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกในการคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างของลูกจ้าง
                  (๔) สภาหอการค้าจังหวัดหรือสภาอุตสาหกรรมจังหวัดหรือชมรมธนาคารพาณิชย์จังหวัด
                       หมายความถึง หอการค้าจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยหอการค้าหรือสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือสำนักงานสาขาในจังหวัดหรือกลุ่มอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือกลุ่มธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์และสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
                   (๕) กลุ่มอาสาสมัคร
                       หมายความถึง กลุ่มบุคคลหรือมูลนิธิที่สมัครใจอาสาเข้ามาทำงานเพื่อช่วยเหลือสังคมหรือผู้อื่น โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนหรือสิ่งอื่นใด
                    (๖) องค์กรเอกชน
                         หมายความถึง องค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินงานพัฒนาสังคมโดยเน้นการพัฒนาคนและการมีส่วนร่วมของประชาชน จะเป็นองค์กรที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่จดทะเบียนก็ได้ และในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะต้องมีการจัดองค์กรเป็นคณะบุคคลขึ้นมาดูแลรับผิดชอบการดำเนินกิจการอย่างมีระเบียบแบบแผนตามสมควร ซึ่งดำเนินงานโดยอิสระ มีกิจกรรมต่อเนื่องและไม่แสวงหาผลประโยชน์
                    (๗) องค์กรเกษตรกร
                           หมายความถึง องค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกร เช่น การเสนอนโยบายและแนวทางการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกร รวมทั้งราคาผลผลิตทางเกษตรกรรมที่ไม่เป็นธรรมต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือให้คำปรึกษาและข้อแนะนำแก่เกษตรกรหรือองค์กรเกษตรกร

                     (๘) สมาคมหรือชมรมสื่อมวลชน
                          หมายความถึง องค์กรหรือกลุ่มบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน เพื่อทำหน้าที่ปกป้องสิทธิ เสรีภาพ และความเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน หรือทำน้าที่ในการส่งเสริมหรือสนับสนุนการประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน โดยมีการดำเนินการในลักษณะต่อเนื่องร่วมกันและมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน
                      (๙) หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด
                         หมายความถึง หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
 
      ๒.   หน่วยงานหรือองค์กรที่ขอขึ้นทะเบียน ต้องเป็นหน่วยงานหรือองค์กรที่มีคุณสมบัติและการดำเนินการตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๒๒
 
                            (๑)    การรวมตัวกันของสมาชิกของหน่วยงานหรือองค์ ต้องเป็นไปเพื่อดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์สาธารณะหรือประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อผู้ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอย่างต่อเนื่องในจังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวข้องกับข้อ ๑ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) หรือเป็นส่วนราชการประจำจังหวัดตาม (๙)
                             (๒)    ได้รับการรับรองจากทางราชการ หรือมีหลักฐานแสดงสถานภาพของหน่วยงานหรือองค์กร
                             (๓)    หน่วยงานหรือองค์กรตามข้อ ๑ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) ต้องจัดตั้งหรือดำเนินกิจกรรมมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปีนับถึงวันแจ้งความประสงค์ โดยสามารถนำผลงานหรือรายงานการดำเนินกิจกรรมมาแสดงได้
                             (๔)    หน่วยงานหรือองค์กรตามข้อ ๑ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) ที่มิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลต้องมีสมาชิกซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดตามจำนวนที่กำหนด ดังต่อไปนี้
 
                                    (ก)    หน่วยงานหรือองค์กรตามข้อ ๑ (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๘) ต้องมีสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า ๑๐ คน
                                   (ข)    หน่วยงานหรือองค์กรตามข้อ ๑ (๕) (๖) และ (๗) ต้องมีสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า ๕๐ คน
 หมายเหตุ        (๑) หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามระเบียบข้อ ๒๐ (๙) ไม่ต้องแสดงหลักฐานการจัดตั้งหรือดำเนินกิจกรรมมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี
                         (๒)ในกรณีที่หน่วยงานหรือองค์กรใดเป็นหน่วยงานหรือองค์กรที่มีคุณสมบัติตามระเบียบข้อ ๒๐ ได้มากกว่าหนึ่งประเภท ให้หน่วยงานหรือองค์กรนั้นแจ้งความประสงค์การขอขึ้นทะเบียนได้เพียงประเภทเดียว
 
 
หลักฐานที่ใช้ในการขอขึ้นทะเบียน
 ๑.     หน่วยงานหรือองค์กรตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๒๐ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๘) ใช้หลักฐาน ดังนี้
                        ๑. แบบแจ้งความประสงค์ขอขึ้นทะเบียนและส่งรายชื่อผู้แทนหน่วยงานหรือองค์กร เพื่อคัดเลือกเป็นกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด (ป.ป.จ. ๓)
                       ๒.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของหัวหน้าหน่วยงานหรือองค์กร และกรณีหัวหน้าหน่วยงานหรือองค์กรมอบอำนาจให้บุคคลอื่นยื่นแบบแจ้งความประสงค์ขอขึ้นทะเบียนแทน จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจ ตามแบบ ป.ป.จ. ๔ รวมทั้งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
                      ๓. หลักฐานที่แสดงถึงวัตถุประสงค์หลักของหน่วยงานหรือองค์กร เช่น หนังสือหรือเอกสารชี้แจงวัตถุประสงค์การดำเนินงาน หรือหนังสือการก่อตั้งหน่วยงานหรือองค์กรซึ่งระบุวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งฯ เป็นต้น
                     ๔. หลักฐานที่แสดงถึงการได้รับการรับรองจากทางราชการหรือหลักฐานแสดงสถานภาพของหน่วยงานหรือองค์กร
                     ๕. หลักฐานแสดงถึงการจัดตั้งหรือดำเนินกิจกรรมมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปีนับถึงวันแจ้งความประสงค์ โดยนำผลงานหรือรายงานการดำเนินกิจกรรมมาแสดง เช่น หนังสือแสดงการจัดตั้งหน่วยงานหรือองค์กร หรือเอกสารแสดงผลงานหรือรายงานประจำปี
                        ๖. กรณีหน่วยงานหรือองค์กรที่มิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคล ให้แนบหลักฐานเพื่อแสดงว่ามีสมาชิกซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดตามจำนวนที่ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๒๒ กำหนด
                     ๗.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้แทนเพื่อคัดเลือกกันเองเป็นกรรมการสรรหา
 
๒.  หน่วยงานหรือองค์กรตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๒๐ (๙) ใช้หลักฐาน ดังนี้
                      ๑.  แบบแจ้งความประสงค์ขอขึ้นทะเบียนและส่งรายชื่อผู้แทนหน่วยงานหรือองค์กร เพื่อคัดเลือกเป็นกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด (ป.ป.จ. ๓)
                      ๒.  สำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐของหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด
                      ๓.  หลักฐานที่แสดงถึงหลักฐานแสดงสถานภาพของหน่วยงานหรือองค์กร เช่น สำเนาคำสั่งแต่งตั้ง เป็นต้น
                     ๔. กรณีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดมอบอำนาจให้บุคคลอื่นยื่นแบบแจ้งความประสงค์ขอขึ้นทะเบียนแทน จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจ ตามแบบ ป.ป.จ. ๔ รวมทั้งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
                      ๕.  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้แทนเพื่อคัดเลือกกันเองเป็นกรรมการสรรหา
 
สอบถามและขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี หลังที่ว่าการอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ถนนพระพันวษา ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ๗๒๐๐๐ โทร.๐๓๕-๕๑๑๑๗๘ / facebook : ป.ป.ช. สุพรรณบุรี